Paris Peace Conference (1919-1920)

การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส (พ.ศ. ๒๔๖๒-๒๔๖๓)

การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสเป็นการประชุมเพื่อจัดทำสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ (First World War)* ยุติลง ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยประเทศสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามทั้งสิ้นรวม ๓๒ ประเทศ ในจำนวนนี่เป็นประเทศมหาอำนาจ ๕ ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสอิตาลี และญี่ปุ่นการประชุมเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ. ๑๙๑๙ ถึงวันที่ ๒๘ มิถุนายนปีเดียวกันณ พระราชวังแวร์ซาย ชานกรุงปารีสผลสำคัญของการประชุมคือร่างสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับเยอรมนีและพันธมิตรรวม ๕ ฉบับประกอบด้วย สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)* กับเยอรมนีลงนามเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๑๙ สนธิสัญญาแซงแชร์แมง (Treaty of Saint Germain)* กับออสเตรียลงนาม เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ค.ศ. ๑๙๑๙ สนธิสัญญาเนยยี (Treaty of Neuilly)* กับบัลแกเรียลงนามเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๙ สนธิสัญญาตรียานง (Treaty of Trianon)* กับฮังการีลงนาม เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๐ และสนธิสัญญาแซฟวร์ (Treaty of Sevres)* กับจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire)* หรือตุรกีลงนาม เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๐

 การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสเกิดขึ้นหลังการลงนามในสัญญาสงบศึก (Armistice)* ระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับเยอรมนีที่เมืองกงเปียญ (Compiègne) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๘ ประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเป็นประเทศสัมพันธมิตรที่ชนะสงคราม เยอรมนีและประเทศพันธมิตรที่แพ้สงครามไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมด้วยผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ชื่อว่าเป็น“ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่” (The Big Four) ประกอบด้วย วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)


ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดวิด ลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George)* นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ชอร์ช เกลมองโซ (Georges Clémenceau)* นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสและวิตโตรีโอ ออร์ลันโด (Vittorio Orlando)* นายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งในทางปฏิบัติมีบทบาทไม่โดดเด่นเท่ากับ ๓ คนแรก ผู้แทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุมมีคณะที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยนักธุรกิจ นักวิชาการนักการทูต ติดตามไปด้วย และมีสื่อมวลชนที่ติดตามรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของการประชุมเป็นจำนวนมาก

 บรรยากาศในการประชุมสันติภาพเต็มไปด้วยความตึงเครียดและการแข่งขันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศตนนอกจากที่ประชุมใหญ่ที่ผู้แทนจากทุกประเทศเข้าร่วมประชุมแล้วก็มีคณะกรรมาธิการที่มีอำนาจสูงสุด ซึ่งประกอบด้วยผู้นำชาติมหาอำนาจทั้งสี่ (The Council of Four) ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินประเด็นสำคัญของการประชุมและมีคณะกรรมการและคณะกรรมาธิการเฉพาะด้านอีกหลายชุด เช่นคณะกรรมการพิจารณาเรื่องการจัดตั้ง สันนิบาตชาติ (League of Nations)* คณะกรรมการพิจารณาเรื่องค่าปฏิกรรมสงคราม คณะกรรมการพิจารณาเรื่องประเทศที่เป็นผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นต้นในการพิจารณาหลาย ๆ เรื่องที่ประชุมใหญ่ให้การรับรองข้อเสนอของคณะกรรมการและคณะกรรมาธิการซึ่งทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการรวบรวมข้อมูลหลักฐานและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ โดยไม่มีการพิจารณาเพิ่มเติม เช่นเรื่องการกำหนดเส้นเขตแดนของยุโรปตลอดช่วงการประชุมมีการเสนอประเด็นปัญหาต่าง ๆ ให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมต้องทำงานหนักและทำให้การประชุมยืดเยื้อ เช่นการเรียกร้องสิทธิสตรีในการออกเสียงเลือกตั้ง การเรียกร้องของสหภาพแรงงานให้ปฏิรูปการใช้แรงงานการเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกันของชาวแอฟริกัน-อเมริกันอย่างไรก็ตาม การประชุมก็หยุดชะงักเป็นครั้งคราวเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองและการทหาร เช่นสงครามในยุโรปตะวันออกหรือการเดินทางกลับประเทศของประธานาธิบดีวิลสันและนายกรัฐมนตรีลอยดี จอร์จ เพื่อร่วมประชุมกับรัฐสภาในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ

 ประธานาธิบดีวิลสันแห่งสหรัฐอเมริกาได้ใช้หลักการ ๑๔ ข้อ (Fourteen Points)* ซึ่งเขาเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๑๘ เป็นหลักการพื้นฐานของการเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพและรักษาสันติภาพของโลกตามแนวความคิด “สันติภาพที่ปราศจากชัยชนะ” (Peace without Victory) เขาพยายามอย่างหนักที่จะให้ผู้นำของฝรั่งเศสและอังกฤษยอมรับในหลักการ ๑๔ ข้อ และให้ยอมรับว่าการลงโทษเยอรมนีและพันธมิตรควรเป็นไปเพื่อความเป็นเอกภาพของยุโรปมิใช่การลงโทษเพื่อแก้แค้นในขณะที่ผู้นำของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งประเทศได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทำสงครามเป็นเวลาหลายปี ไม่เห็นด้วยกับหลักการ ๑๔ ข้อเท่าใดนัก ยกเว้นข้อเสนอเรื่องการก่อตั้งสันนิบาตชาติ ฝรั่งเศสต้องการลงโทษเยอรมนีอย่างหนักเพื่อไม่ให้สามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นมหาอำนาจคุกคามความสงบสุขของยุโรปอีกและต้องการให้ชดเชยค่าเสียหายจากสงครามอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ อังกฤษและฝรั่งเศสยังปฏิเสธหลักการที่เกี่ยวกับการค้าเสรีและการให้อาณานิคมมีสิทธิกำหนดการปกครองตนเองเพราะเห็นว่าจะกระทบกับอำนาจและผลประโยชน์ในอาณานิคมของตนและเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าเพราะเปิดโอกาสให้พ่อค้าและนักลงทุนชาวอเมริกันเข้าไปแข่งขันและแทรกแซงทางธุรกิจและการเมืองได้

 วิลสันแต่งตั้งพันเอก เอดเวิร์ด เฮาส์ (Edward House) ที่ปรึกษาส่วนตัวเป็นหัวหน้าคณะเจรจาในการประชุมสันติภาพและมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ติดตามเป็นจำนวนมาก ระหว่างเดินทางมาประชุม วิลสันได้แวะเยี่ยมเยือนเมืองสำคัญของยุโรปหลายเมือง เช่นกรุงลอนดอนกรุงโรม กรุงปารีสนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางเยือนยุโรปในขณะที่อยู่ในตำแหน่ง เขาได้รับการต้อนรับจากประชาชนของประเทศเหล่านั้นเยี่ยงวีรบุรุษ อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการที่วิลสันเดินทางไปเข้าร่วมประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสเพราะเห็นว่าเขาควรจะเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าที่จะไปสร้างสันติภาพในยุโรป และวิลสันสามารถติดตามผลการประชุมได้จากการสื่อสารทางเคเบิล ประเด็นการวิพากษ์วิจารณ์นี่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคริพับลิกันซึ่งกังวลว่าหากวิลสันมีบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศโดดเด่นขึ้นอาจทำให้พรรคเดโมแครตมีอิทธิพลในทางการเมืองมากขึ้น

 การที่วิลสันไม่ได้เลือกวุฒิสมาชิกหรือนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลของพรรคริพับลิกันร่วมคณะเจรจาด้วยส่งผลกระทบต่อเสียงสนับสนุนในการรับรองสนธิสัญญาแวร์ซายในรัฐสภาสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. ๑๙๒๐ สมาชิกพรรคริพับลิกันซึ่งคุมเสียงข้างมากในวุฒิสภาจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. ๑๙๑๘ และแคบบอต ลอดจ์ (Cabbot Lodge) คู่แข่งทางการเมืองของวิลสันได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศทำให้ วุฒิสภาไม่ยอมให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาแวร์ซายใน ค.ศ. ๑๙๑๙ สหรัฐอเมริกาจึงไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติทั้งๆ ที่เป็นหลักการที่ประธานาธิบดีวิลสันให้ความสำคัญมากที่สุดในการประชุมสันติภาพ เขาได้ต่อสู้เรียกร้องให้บรรจุกติกาสัญญาสันนิบาตชาติ (Covenant of the League of Nations) เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพทุกฉบับที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทำกับประเทศผู้แพ้สงครามและที่ประชุมใหญ่สันติภาพก็ได้ลงมติรับรองกติกาสัญญาสันนิบาตชาติ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๑๙ พร้อมกับกำหนดให้กติกาสัญญานี่รวมอยู่ในสนธิสัญญาทุกฉบับ เมื่อสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าร่วม ประเทศมหาอำนาจในสันนิบาตชาติจึงเหลือเพียง ๔ ชาติ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศสอิตาลี และญี่ปุ่นและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สันนิบาตชาติอ่อนแอ ใน ค.ศ. ๑๙๒๑ ประธานาธิบดีวอร์เรนจี. ฮาร์ดิง (Warren G. Harding) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแยกเฉพาะกับเยอรมนี ออสเตรียและฮังการี

 แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นมหาอำนาจซึ่งมีกองทัพที่เข้มแข็งและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่วิลสันกลับไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีสตามหลักการ ๑๔ ข้อ ประสบการณ์ด้านกิจการระหว่างประเทศที่น้อยกว่าลอยด์จอร์จและเกลมองโซทำให้วิลสันถูกโน้มน้าวให้เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคนทั้งสอง นอกจากนี้ วิลสันและที่ปรึกษาใกล้ชิดก็ไม่เข้าใจปัญหาของยุโรปที่มีความซับซ้อนอย่างลึกซึ้งทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิลสันยังล้มเหลวที่จะทำให้การประชุมร่างสนธิสัญญาสันติภาพเป็นการประชุมแบบเปิดเผยและให้มีผู้แทนของประเทศผู้แพ้สงครามเข้าร่วมประชุมด้วยซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาในสนธิสัญญาสันติภาพ

 เกลมองโซไม่เห็นด้วยกับหลักการ ๑๔ ข้อของวิลสันเนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลงโทษเยอรมนีอย่างรุนแรงด้วยการให้เยอรมนีชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามและทำให้เยอรมนีอ่อนแอทั้งด้านการทหาร ยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจเพื่อที่จะไม่สามารถรุกรานฝรั่งเศสได้อีกในอนาคต นอกจากนี้ ต้องการให้สหรัฐอเมริกาและอังกฤษรับประกันความมั่นคงของฝรั่งเศสหากถูกเยอรมนีรุกรานอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๑๙ เรอเนมาสซีกลี (René Massigli) นักการทูตฝรั่งเศสได้เดินทางเยือนกรุงเบอร์ลินในนามของรัฐบาลฝรั่งเศสหลายครั้งเพื่อเจรจาลับกับรัฐบาลเยอรมนี โดยให้สัญญาว่าในอนาคตฝรั่งเศสจะสนับสนุนให้เยอรมนีสามารถแก้ไขเงื่อนไขเรื่องดินแดนและการลงโทษทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซาย เพียงแต่ ขอให้เยอรมนีร่วมมือกับฝรั่งเศสในการสกัดกั้นการขยายอำนาจของกลุ่มแองโกล-แชกชัน (Anglo-Saxon Powers) หรือสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในการเมืองระหว่างประเทศการที่ฝรั่งเศสขัดแย้งกับเยอรมนีจะทำให้ ๒ ประเทศนั้นได้รับประโยชน์และมีอำนาจมากขึ้นในขณะที่ฝรั่งเศสกับเยอรมนีเสียผลประโยชน์ เยอรมนีปฏิเสธที่จะร่วมมือกับฝรั่งเศสเพราะไม่ไว้วางใจว่าฝรั่งเศสมีเป้าหมายที่แท้จริงอย่างไร ทั้งเกรงว่า จะเป็นกับดักของฝรั่งเศสที่หลอกล่อให้เยอรมนียอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาแวร์ซายก่อนนอกจากนี้ เคานต์อุลริช ฟอนบรอคดอร์ฟ-รันท์เซา (Ulrich von Brockdorff-Rantzau) รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนีคิดว่าสหรัฐอเมริกามีความจริงใจและอะลุ้มอล่วยกับเยอรมนีมากกว่าฝรั่งเศสในที่สุด ชาวฝรั่งเศสไม่ค่อยพอใจผลประโยชน์ที่โด้รับตามสนธิสัญญาแวร์ซายเท่าใดนัก พวกเขาคิดว่าเกลมองโซไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเยอรมนีได้เพียงพอกับความเสียหายที่พวกเขาได้รับจากสงคราม และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกสมองโซพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเป็นผู้นำของฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๙๒๐

 ลอยด์ จอร์จ แม้ไม่เห็นด้วยกับหลักการ ๑๔ ข้อของ วิลสันแต่ก็มีทัศนคติที่แตกต่างไปจากชาวอังกฤษ เขามองว่าลัทธิคอมมิวนิสต์ในรัสเซียน่ากลัวและเป็นภัยคุกคามสันติภาพ ของโลกมากกว่าเยอรมนีที่แพ้สงครามแล้วเขากังวลว่าลัทธิคอมมิวนิสต์อาจจะเผยแพร่เข้ามาในยุโรปตะวันตกและคิดว่ามีเพียงเยอรมนีประเทศเดียวในยุโรปกลางที่จะสามารถต้านทานการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ ดังนั้นแม้ว่าเขาจะเห็นด้วยกับการลงโทษเยอรมนีเพื่อประกันความปลอดภัยของฝรั่งเศสและขจัดภัยคุกคามจากกองเรือรบขนาดใหญ่ของเยอรมนี แต่ก็เห็นว่าไม่ควรลงโทษรุนแรงจนทำให้เยอรมนีอ่อนแอเกินไปจนไม่สามารถต้านทานการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ นอกจากนี้ เขาไม่ ต้องการทำให้ชาวเยอรมันไม่พอใจในรัฐบาลของตนเองจนหันไปสนใจในลัทธิใหม่

 นอกจากการลงโทษเยอรมนีแล้วเป้าหมายสำคัญของอังกฤษในการประชุมสันติภาพอีกประการหนึ่ง คือ การปกป้องความเป็นปึกแผ่นของจักรวรรดิอังกฤษและการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องดินแดนเมื่อผู้แทนญี่ปุ่นริเริ่มเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องความเท่าเทียมด้านเชื้อชาติอังกฤษไม่ได้คัดด้านจนเมื่อที่ประชุมเริ่มพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพในดินแดนอารักขาของอังกฤษ เช่นออสเตรเลีย อังกฤษจึงคัดค้านอย่างเต็มที่โดยกล่าวว่าการสร้างความเท่าเทียมด้านเชื้อชาติตามข้อเสนอของญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่หลักการพื้นฐานของการประชุมสันติภาพ การคัดด้านของอังกฤษอาจเป็นเพราะต้องการให้ออสเตรเลียพอใจ เพื่อรักษาความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของจักรวรรดิอังกฤษ อังกฤษประสบความสำเร็จในการขัดขวางความพยายามของผู้แทนสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่ต้องการยื่นเรื่องต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อขอสิทธิในการปกครองตนเอง การรับรองทางการทูต และการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ นอกจากนี้ อังกฤษยังคัดด้านการเปิดเสรีการเดินเรือทะเล ส่วนเรื่องดินแดนนั้นอังกฤษเรียกร้องขอปกครองดินแดนในตะวันออกกลางและหวังว่าจะได้ครอบครอง อดีตอาณานิคมชองเยอรมนีบางแห่งด้วย

 ส่วนออร์ลันโดแม้มีอุปสรรคด้านภาษาอังกฤษแต่ก็พยายามต่อสู้อย่างหนักเพื่อรักษาผลประโยชน์ของอิตาลี อิตาลีคาดหวังว่านอกจากดินแดนที่อังกฤษและฝรั่งเศสสัญญาว่าจะให้ตามสนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London) ค.ศ. ๑๙๑๕ อิตาลีจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อชดเชยการสูญเสียชีวิตทหารและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการทำสงครามที่ทำให้งบประมาณของรัฐบาลติดลบ ออร์ลันโดขู่ที่ประชุมว่าหากอิตาลีไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ควรจะเป็นแล้วอาจจะเกิดสงครามกลางเมืองในอิตาลีโดยพวกชาตินิยมขวาจัด อย่างไรก็ตาม ผู้นำของ ๓ ชาติมหาอำนาจไม่เห็นด้วยกับออร์ลันโด ลอยด์ จอร์จ และเกลมองโซคิดว่าอิตาลีไม่สมควรที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนแม้แต่ดินแดนที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาลอนดอนเพราะอิตาลีไม่ได้ช่วยเหลือในการโจมตีจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (Austro-Hungarian Empire)* อย่างเต็มที่จนทำให้สงครามด้านนี่ยืดเยื้อ และอิตาลีไม่ได้ใช้ยุทธปัจจัยจำนวนมากที่ได้รับจากฝ่ายสัมพันธมิตรในการทำสงครามทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนวิลสันไม่เห็นด้วยกับดินแดนที่อิตาลีจะได้รับจากสนธิสัญญาลอนดอนเพราะเห็นว่าขัดกับหลักการของการกำหนดเขตแดนตามเชื้อชาติโดยเฉพาะดินแดนที่มีผู้คนเชื้อสายสลาฟอาศัยอยู่จำนวนมาก ดังนั้นในวันที่ ๒๓ เมษายน ค.ศ. ๑๙๑๙ วิลสันจึงประกาศชัดเจนว่าอิตาลีจะไม่ได้รับดินแดนตามที่ระบุในสนธิสัญญาลอนดอนและจะได้ครอบครองเพียงเตรนดีโน (Trentino) และทิโรล (Tyrol) ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลีเท่านั้น

 หนึ่งวันหลังจากนั้นออร์ลันโดประท้วงด้วยการเดินทางกลับกรุงโรม มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาตินิยมรุนแรงในอิตาลี นำโดยกาเบรียเล ดันนุนซีโอ (Gabriele D’Annunzio) เพื่อต่อต้านผู้นำของ ๓ ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะวิลสันที่ลบหลู่เกียรติและศักดิ์ศรีของอิตาลี พวกเขาขู่ว่าหากข้อเรียกร้องของอิตาลีไม่บรรลุผลก็อาจจะเกิดสงครามขึ้นได้ ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการให้ผู้นำของอิตาลีกลับเข้าร่วมการประชุมเพราะใกล้กำหนดเวลาที่จะเชิญผู้แทนของออสเตรียและเยอรมนีเข้ารับทราบเงื่อนไขของสนธิสัญญาแล้วจึงมีการประนีประนอมโดยสหรัฐอเมริกาสัญญาที่จะให้อิตาลีกู้เงิน๒๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ อังกฤษและฝรั่งเศสเห็นพ้องกันว่าเงินจำนวนนี่น่าจะช่วยปลดเปลื้องพันธะของสนธิสัญญาลอนดอนได้และนำจะช่วยให้การตกลงเรื่องดินแดนเป็นไปได้ง่ายขึ้นออร์ลันโดจึงกลับเข้าร่วมการประชุมเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๑๙ ในที่สุด อิตาลีได้ครอบครองเตรนตีโนทิโรล ตรีเอสเต (Trieste) ฟรีอูลี (Friuli) อิสเตรีย (Istria) ซารา (Zara) คัลเมเขียนพอร์ตออฟซารา (Dalmatian port of Zara) และอดีตอาณานิคมเล็ก ๆ ของเยอรมนีอีก ๒ แห่ง ได้รับเงินค่าปฏิกรรมสงครามและได้ที่นั่งถาวรในคณะมนตรี ความนั่นคงถาวรในสันนิบาตชาติอย่างไรก็ตามดินแดนอีกหลายแห่งที่อิตาลีต้องการได้ถูกมอบให้กับชาติอื่นไปชาวอิตาลีส่วนใหญ่ไม่พอใจผลการประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีสและต่อต้านสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสในขณะที่ชาติ มหาอำนาจก็วิตกกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่ทะเยอทะยานในการขยายอำนาจของอิตาลี

 ส่วนหัวหน้าคณะผู้แทนของญี่ปุ่นซะอิอนจิ คิมโมะชิ (Saionji Kimmochi) ยื่นข้อเสนอสำคัญ ๒ ข้อต่อที่ประชุมใหญ่ คือ การเรียกร้องให้พิจารณาเรื่องความเท่าเทียมด้านเชื้อชาติและกรรมสิทธิ์ของญี่ปุ่นเหนืออดีตอาณานิคมของเยอรมนี ได้แก่ ชานตง (Shandong) และหมู่เกาะทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่นหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Marshall) หมู่เกาะไมโครนีเชีย (Micronesia) หมู่เกาะมาเรียนา (Mariana) เรื่องความเท่าเทียมด้านเชื้อชาติที่ญี่ปุ่นเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนองจากที่ประชุม ทำให้ญี่ปุ่นผิดหวังและบาดหมางกับสหรัฐอเมริกาที่ให้การสนับสนุนอังกฤษ ซึ่งคัดค้านประเด็นนี่มากที่สุด นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสิ่งที่พวกเขาเรียกร้องทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะต่อสู้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองจนนำไปสู่การเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในเวลาต่อมา

 ด้านเยอรมนี หลังจากมีการลงนามสงบศึกกับประเทศสัมพันธมิตรที่เมืองกงเปียญเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๘ แล้วก็คาดหวังว่าจะได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสบรอคดอร์ฟ-รันท์เซา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะเจรจาของเยอรมนีและเจ้าหน้าที่ได้เตรียมเอกสารที่จะใช้ในการเจรจาอย่างเต็มที่แต่ต่อมากลับได้รับสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายที่ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจากเกลมองโซในวันที่ ๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๑๙ พร้อมกับรับทราบว่าจะไม่มีการเจรจาระหว่างผู้ชนะสงครามกับเยอรมนี และมีเวลา ๒ สัปดาห์ที่จะเสนอความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวเยอรมันไม่พอใจเนื้อหาของสนธิสัญญาแวร์ซายอย่างมากและเห็นว่าฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่ยุติธรรมต่อเยอรมนีและลงโทษเยอรมนีรุนแรงเกินไปพวกเขาเรียกสนธิสัญญาแวร์ซายว่าเป็น“การบงการ” (Diktat) เนื่องจากเป็นการบังคับให้พวกเขาปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่มีข้อโต้แย้ง อย่างไรก็ตาม ผู้แทนเยอรมันณ กรุงปารีสไม่สามารถปฏิเสธการลงนามในสนธิสัญญาได้เนื่องจาก ตระหนักดีว่าเยอรมนีไม่อยู่ในสภาพที่จะทำสงครามต่อไปได้

 ตามสนธิสัญญาแวร์ซายเยอรมนีถูกลงโทษในทุก ๆ ด้านทั้งดินแดนเศรษฐกิจการเงินและการทหารประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ เยอรมนีต้องยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ ตามมาตรา ๒๓๑ และต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากสงครามโดยส่วนใหญ่เป็นการชดใช้ให้แก่ฝรั่งเศสและเบลเยียมเพื่อซ่อมแซมโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศที่ได้รับความเสียหายหนัก ค่าปฏิกรรมสงครามอาจจ่ายเป็นเงินสดหรือสินค้าประเภทอื่นก็ได้ แต่ ไม่ได้มีการระบุจำนวนเงินที่แน่นอนในสนธิสัญญาเนื่องจาก ผู้ชนะสงครามยังไม่สามารถตกลงกันได้ จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อพิจารณาประเมินความเสียหาย (Reparations Commission) ในภายหลัง

 ด้านการทหาร เยอรมนีต้องลดขนาดของกองทัพลงกองทัพบกถูกลดจำนวนทหารเหลือเพียง ๑๐๐,๐๐๐ คนและต้องไม่มีรถถังประจำการ กองทัพเรือก็ต้องลดกำลังพลและอาวุธเช่นเดียวกันมีเรือใหญ่ประจำการเพียง ๖ ลำ และต้องไม่มีเรือดำนํ้าเยอรมนีไม่สามารถจัดตั้งกองทัพอากาศได้ นอกจากนี้ ยังถูกห้ามผลิตและครอบครองอาวุธที่ใช้ในการทำสงคราม เช่นเครื่องบินรบ เรือดำนํ้าพื้นที่ส่งตะวันตกของแม่นํ้าไรน์และ ๕๐ กิโลเมตรบนส่งตะวันออกของแม่นํ้าไรน์ถูกกำหนดเป็นเขตปลอดทหาร ต้องไม่มีทหารเยอรมันหรืออาวุธอยู่ไนบริเวณนี่ กองทัพบกของสัมพันธมิตรจะประจำการอยู่บนส่งตะวันตกของแม่นํ้าไรน์เป็นเวลา ๑๕ ปี และจะมีการถอนกำลังทหารออกทุก ๆ ๕ ปี

 เยอรมนีสูญเสียดินแดนไปประมาณร้อยละ ๑๓ ของพื้นที่ที่มีอยู่เดิม และต้องคืนดินแดนในเขตอัลซาซ-ลอร์แรน (Alsace-Lorraine) ให้ฝรั่งเศสคืนเออปอง (Eupen) และมาลเมดี (Malmédy) ให้เบลเยียม คืนชเลสวิกตอนเหนือ (Northern Schleswig) ให้เดนมาร์ก มอบฮุลชีน (Hultschin) ให้เชโกสโลวาเกีย ส่วนซาร์ (Saar) ดานซิก (Danzig) และเมเมิล (Memel) ให้อยู่ภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติ หลังจากนั้นให้ประชาชนในเขตเหล่านี้ลงประชามติว่าต้องการรวมเข้ากับเยอรมนีหรือฝรั่งเศสหรือจะเป็นรัฐอิสระภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติต่อไป นอกจากนี้ เยอรมนีต้องคืนดินแดนที่ได้มาจากรัสเซียตาม สนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์ (Brest-Litovsk ค.ศ. ๑๙๑๘)* ซึ่งบางส่วนของดินแดนนี่กลายเป็นประเทศใหม่ คือ เอสโตเนีย ลิทัวเนีย และลัตเวีย และบางส่วนก็เป็นของโปแลนด์ส่วนอาณานิคมทั้งหมดของเยอรมนีอยู่ภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติ เยอรมนียังสูญเสียดินแดนที่เป็นเขตอุตสาหกรรมสำคัญ เช่นเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์และไซลีเซียตอนบนซึ่งสร้างความเสียหายต่อความพยายามที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของเยอรมนีมาก นอกจากนี้ ยังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามอีกด้วย ชาวเยอรมันคิดว่าฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการให้เยอรมันล้มละลายทางเศรษฐกิจ

 ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่พอใจสนธิสัญญาแวร์ซายเพราะทำให้เยอรมนีอ่อนแอลงและฝรั่งเศสปลอดภัยจากการคุกคามของเยอรมนี แต่ก็ไม่อ่อนแอเกินไปจนไม่สามารถต้านทานการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ นอกจากนี้การก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติเพื่อรักษาสันติภาพของโลกก็ประสบความสำเร็จ แต่สำหรับชาวเยอรมันพวกเขาไม่พอใจเงื่อนไขในสนธิสัญญาฉบับนี้มากเพราะเห็นว่าไม่ยุติธรรมโดยเฉพาะข้อที่บังคับให้พวกเขายอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ และถูกบังคับให้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามความไม่พอใจในสนธิสัญญาแวร์ซายเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)* และพรรคนาซี (Nazi Party)* ซึ่งมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)* เป็นผู้นำได้รับความนิยมมากขึ้นในเวลาต่อมา

 ออสเตรีย-ฮังการีต้องลงนามในสนธิสัญญาแยกเป็น ๒ ฉบับ ซึ่งบ่งชี้ว่า จักรวรรดินี่จะต้องถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วนนั่นคือ สนธิสัญญาแซง-แชร์แมงเป็นการลงนามระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับออสเตรียเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ค.ศ. ๑๙๑๙ และสนธิสัญญาตรียานงเป็นการลงนามระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับฮังการีเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๐ ทั้ง ๒ ประเทศต้องสูญเสียดินแดนให้ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งทำให้เกิดประเทศใหม่คือ เชโกสโลวาเกีย และดินแดนส่วนหนึ่งตกเป็นของโปแลนด์ โรมาเนีย และยูโกสลาเวีย ออสเตรียต้องมอบดินแดนส่วนหนึ่งให้อิตาลี ทั้ง ๒ ประเทศ ต้องลดขนาดของกองทัพลงและชดใช้ค่าเสียหายจากสงครามแต่ด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าเยอรมนีมาก ส่วนบัลแกเรียลงนามในสนธิสัญญาเนยยีกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๙ ทำให้ต้องมอบดินแดนส่วนหนึ่งให้ยูโกสลาเวีย ลดขนาดกองทัพและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามด้วย

 ตุรกีลงนามในสนธิสัญญาแซฟวร์กับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๐ ตุรกีถูกลงโทษอย่างหนัก จากเหตุการณ์ที่ทหารเติร์กสังหารกองกำลังผสมออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZACS) ของฝ่ายสัมพันธมิตรเกือบทั้งหมดที่เมืองกัลลิโปลี (Gallipoli) ของตุรกี ซึ่งนับเป็นการพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของกองทัพสัมพันธมิตร ตุรกีต้องเสียดินแดนส่วนใหญ่ในยุโรป ช่องแคบบอสพอรัส (Bosporus)* และดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles)* อยู่ในความดูแลของสันนิบาตชาติ ดินแดนของตุรกีในเอเชียถูกมอบให้อังกฤษกับฝรั่งเศสปกครองจนกว่าประชาชนของประเทศนั้นๆ พร้อมที่จะปกครองตนเองฝรั่งเศสได้ปกครองซีเรียและเลบานอนในขณะที่อังกฤษได้ปกครองอิรัก ทรานส์จอร์แดนและปาเลสไตน์ อังกฤษต้องการยึดครองดินแดนเหล่านี้เพื่อกีดกันฝรั่งเศสเพื่อเป็นเส้นทางการบินใหม่ไปยังอินเดียและเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพราะคาดว่าจะมีแหล่งนํ้ามันกองทัพของอังกฤษ ฝรั่งเศสกรีซ และอิตาลีจะยึดครองดินแดนตุรกีส่วนที่เหลืออยู่คือดินแดนในเอเชียไมเนอร์ กลุ่มชาวเติร์กชาตินิยมนำโดยมุสตาฟา เคมาล (Mustapha Kemal)* ซึ่งก่อการปฏิวัติล้มล้างอำนาจของสุลต่านโมฮัมเม็ดที่ ๖ (Mohammed VI) ได้สำเร็จประกาศไม่ยอมรับสนธิสัญญาแซฟวร์ พวกชาตินิยมตุรกีจึงต่อต้านและนำไปสู่วิกฤตการณ์ชานัก (Chanak Crisis)* ค.ศ. ๑๙๒๒ ซึ่งทำให้มีการเจรจาต่อรองทางการทูตเพื่อยกเลิกสนธิสัญญาแซฟวร์จนมีการลงนามสนธิสัญญาฉบับใหม่คือ สนธิสัญญาโลซาน (Treaty of Lausanne)* เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๓

 การบังคับใช้สนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ เป็นเรื่องยากกว่าการลงนามในสนธิสัญญา แม้ว่าในสนธิสัญญาจะระบุบทลงโทษในกรณีไม่มีการปฏิบัติตาม แต่การบังคับใช้บทลงโทษกลับไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าฝรั่งเศสและเบลเยียมในระยะแรกตั้งใจที่จะบังคับใช้บทลงโทษและขอความช่วยเหลือจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากมหาอำนาจอื่นประเทศทั้งสองก็ไม่สามารถกระทำการใด ๆ ได้ทั้งยังต้องปล่อยให้ฮิตเลอร์สร้างกองทัพเยอรมันที่เข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่องและขยายอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็นำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War)* อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.



คำตั้ง
Paris Peace Conference
คำเทียบ
การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีส
คำสำคัญ
- กติกาสัญญาสันนิบาตชาติ
- เกลมองโซ, ชอร์ช
- ไซลีเซีย
- ตรีเอสเต
- บัลแกเรีย
- พรรคเดโมแครต
- พรรคนาซี
- ยูโกสลาเวีย
- โรมาเนีย
- ลอดจ์, แคบบอต
- ลอยด์ จอร์จ, เดวิด
- ลัทธิฟาสซิสต์
- ลิทัวเนีย
- สงครามโลกครั้งที่ ๑
- สงครามโลกครั้งที่ ๒
- สนธิสัญญาแซงแชร์แมง
- สนธิสัญญาแซฟวร์
- สนธิสัญญาตรียานง
- สนธิสัญญาเนยยี
- สนธิสัญญาลอนดอน
- สนธิสัญญาโลซาน
- สนธิสัญญาแวร์ซาย
- สโลวาเกีย
- สัญญาสงบศึก
- สันนิบาตชาติ
- หลักการ ๑๔ ข้อ
- ออร์ลันโด, วิตโตรีโอ
- ออสเตรีย-ฮังการี
- อิสเตรีย
- เอสโตเนีย
- ฮิตเลอร์, อดอล์ฟ
- เฮาส์, พันเอก เอดเวิร์ด
ช่วงเวลาระบุเป็นคริสต์ศักราช
1919-1920
ช่วงเวลาระบุเป็นพุทธศักราช
พ.ศ. ๒๔๖๒-๒๔๖๓
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
สุธีรา อภิญญาเวคพร
บรรณานุกรมคำตั้ง
แหล่งอ้างอิง
-